http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,069,297
Page Views1,459,374
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

อาหารต้านโรค

อาหารต้านโรค

ผักพื้นบ้านต้านมะเร็ง ตอนที่ 2

สารต่อต้านมะเร็งในผักพื้นบ้านสมุนไพร

ผักพื้นบ้าน เป็นอาหารมีไขมันน้อยหรือไม่มีเลย เป็นแหล่งของสารต้านมะเร็งหลายชนิด คือ

  1. มีไวตามิน ซี พบในผักใบ และผักกลุ่มผล เช่น ผักกาด ถั่วงอก มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อม
  2. มีเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) และคาโรทีนอยด์ เช่น ลูกเหลียง ดอกโสน ใบย่านาง มะละกอ มะรุม ยอดสะเดา มะม่วง ฟักทอง ผักแต้ว มะเขือเทศ
  3. มีแร่ธาตุเซเลเนียม และแคลเซียม เช่น มะเขือพวง ผักหวานป่า กระเทียม
  4. มีสารต้านมะเร็ง เช่น กระเทียม มะนาว หอมแดง ถั่วเหลือง ชะเอม กระเพรา โหระพา
  5. มีใยอาหาร เช่น ผักกะเฉด ผักบุ้ง ผักกาด และผักใบต่าง ๆ

“พืชผักพื้นบ้านมีสารสำคัญที่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคได้ ซึ่งสารจากพืชหลายอย่างได้รับการยืนยันจากการทดลองในสัตว์และในระบาดวิทยาของโรคมะเร็งว่า เป็นสารที่สามารถต่อต้านหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ เรียกว่า สารต่อต้านการก่อมะเร็ง (anticarcinogen) และสารต่อต้านการส่งเสริมมะเร็ง (anti-tumor promoter) ถูกนำมาใช้ในโครงการวิจัยเกี่ยวกับ “การป้องกันด้วยวิธีสารเคมี” (chemoprevention)”

สารสำคัญที่มีการวิจัยกันมากและพบว่าสามารถต่อต้านมะเร็งในพืช มีหลายชนิด ได้แก่

แอนติออกซิแดนท์ (antioxidants) สารป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ (free radicals) ป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกาย การแก่ชรา การเกิดโรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ สารแอนติออกซิแดนท์ในธรรมชาติ ได้แก่ ไวตามิน ซี, ไวตามิน อี, เบต้าคาโรทีน, ไบโอฟลาโวนอยด์ และแร่ธาตุบางชนิด เช่น สังกะสี และเซเลเนียม

สารแอนติออกซิแดนท์ที่ไม่ใช่ไวตามิน มีสารหลายชนิดที่เป็นสารรสฝาดพบในยอดผักและเมล็ดในพืชทั่วไป ได้แก่ สารพวกโปลีฟีนอล (polyphenols) เช่น สารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoids: เคอเซติน (quercetin), แคธีซิน (catechins), รูทิน(rutin), ไลโคปีน (lycopenes), แอนโธซัยยาดินิน (anthocyanidins) สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลิวคีเมียในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองได้

ไลโคปีน (lycopene), กรดพารา-คูมาริค (para-coumaric acid) , กรดโคโรเจนิก (chlorogenic acid) ที่พบในมะเขือเทศสีแดง (สารสำคัญสีแดง คือ ไลโคปีน)และมะเขือรสเปรี้ยว เป็นสารยาที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ และสารรบกวนสารเคมีที่เข้าไปก่อหรือเสริมการเกิดเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้

สารแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ลดความเสี่ยงมะเร็งในช่องปาก กล่องเสียง หลอดอาหาร ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ตับอ่อน เต้านม กระเพาะปัสสาวะ อาจลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก รังไข่ โพรงมดลูก ไธรอยด์ ตับ ต่อมลูกหมาก ไตได้ด้วย พบมากในพืชผักทั่วไปที่มีสีเขียว เหลือง ส้ม และแดง

สารกลุ่มไอโซฟลาโวน (isoflavone -coumarin derivative) ซึ่งทำหน้าที่เป็น phytoestrogen ต่อต้านทานการเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมที่เกิดการกระตุ้นของเอสโตรเจน พบมากในถั่วเหลือง

สารกรดคูมาริก (para-coumaric acid) เป็นสารฟีนอลลิกที่พบในมะเขือเทศสุก สามารถป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่เกิดจาก nitrosamines

เจนิสทีน (genistein) เป็นหนึ่งในสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์พบในเมล็ดถั่วเหลือง มันช่วยป้องกันมะเร็งได้โดยช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างหลอดเลือดฝอยที่จะส่งอาหารไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อตายได้

สารกลุ่มเคอร์คิวมิน (curcuminoids) เป็นสารสีเหลืองพบในขมิ้นชัน และขมิ้นอ้อย มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการอักเสบ ยับยั้งการเกิดเนื้องอกและการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้

สารอินโดล คาร์บินอล (indole carbinol) และสารซัลโฟราเฟน (sulforaphane) พบมากในพืชกลุ่มกะหล่ำ ทั้งกะหล่ำใบ กะหล่ำดอก ผักแขนง กระหล่ำปม คะน้า ส่วนผักพื้นเมือง ได้แก่ ผักกาดฮิ้น (อีสาน) หรือผักกาดแม้ว ซึ่งมีกลิ่นฉุนคล้ายมัสตาร์ด สารอินโดล (indoles) สารกลุ่มนี้ช่วยให้ร่างกายเพิ่มภูมิต้านทานและช่วยกำจัดฤทธิ์ของสารก่อมะเร็งได้ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก ไธรอยด์ เต้านมและมะเร็งอื่น ๆ หลายชนิด

สารโปลีแซคคาไรด์ หรือ คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน (complex carbohydrate) เช่น เบต้ากลูแคน (beta-glucan) จากธัญพืชที่ไม่ขัดสี รำข้าว เห็ดและสาหร่ายทะเล เป็นต้น สารเบต้า-กลูแคน มีคุณสมบัติเพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

สารซาโปนิน (saponins) พบในถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้งบางชนิด และผักโขม ช่วยป้องกันการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ไม่ให้ขยายออกไป

สารคลอโรเจนนิก (Chlorogenic acid) พบมากใน มะเขือยาว พริกหนุ่ม แตงกวา มันเทศ สับปะรด ทานตะวัน มีฤทธิ์ต่อต้านการกลายพันธุ์ และมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านการส่งเสริมมะเร็ง

สารกำมะถันอินทรีย์ (sulfides) เช่น อัลลิซิน (allicin) พบมากในหัวหอม กระเทียม เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยกำมะถัน กลิ่นฉุนแรงมาก ช่วยป้องกันการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต่าง ๆ ได้แก่ การก่อตัวมะเร็ง (cancer initiation) และ การส่งเสริมมะเร็ง (tumor promotion)

ในพืชผักพื้นบ้านสมุนไพร ยังมีสารสำคัญอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ที่มีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็งได้โดยกลไกต่าง ๆ กัน ซึ่งมีการศึกษาหลายแห่ง และมีรายงานในเอกสารการวิจัยอีกมากมาย เช่น

สารรสเผ็ดร้อนหรือ แคพซัยซิน (capsaisin) จากพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกกระเหรี่ยง ฯลฯ

สารลูเตอีน (lutein) และ คาโรทีนอยด์ (carotenoid ) ในผักใบ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันความเสื่อมของจุดรับภาพในดวงตา

สารซีแซนธีน (zeaxanthin) ในผักโขม และกรดเอลลาจิก (ellagic acid) ในข้างโพด และผลไม้ทั้งหลาย

ที่มา http://www.calintertrade.co.th/blog/?p=43

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view